คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ( หมอไทยอินดี้ )
ใช้ประกอบการ วินิจฉัยโรค ในแบบ แพทย์แผนไทย
คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย มาจาก คำ 2 คำ คือ
สมุฎฐาน + วินิจฉัย = กองพิกัดสมุฎฐาน 4 ประการ ( มหาพิกัดสมุฎฐาน )
สมุฎฐาน คือ ที่ตั้งที่ แรกเกิด หรือ สาเหตุ การเกิดโรค
วินิจฉัย คือ การ คาดคะเน โรค ว่า จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง
สมุฎฐานวินิจฉัย จะพูด ถึง กองพิกัด สมุฎฐาน 4 ประการ หรือที่เรียกว่า * มหาพิกัดสมุฎฐาน ( ซึ่งจะแตกต่างจาก คัมภีร์เวชศึกษา ที่จะพูดถึง เรื่อง กิจ 4 ประการ ว่า หมอ ต้องรู้ อะไรบ้าง ) แต่ สมุฎฐานวินิจฉัย พูด ถึงว่า หมอ ต้องรู้ * ( กองพิกัด หรือ ตัวที่ทำให้เกิดโรค หรือ สาเหตุ เกิดโรคให้ได้ )
ซึ่ง กองพิกัด สมุฎฐาน ก็จะ แตกออกมาเป็น
1. ธาตุสมุฎฐาน
2. อายุสมุฎฐาน
3. ฤดูสมุฎฐาน ( ใช้คำว่า ฤดู )
4. กาลสมุฎฐาน
( ถ้าเป็น คัมภีร์ เวชศึกษา จะพูด ถึง กิจ 4 ประการ และ ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค คือ ธาตุ / อุตุ / อายุ / กาล / ประเทศ )
*** คัมภีร์ สมุฎฐานวินิจฉัย ใช้คำว่า ( ฤดู ) ให้จำว่า ชื่อ ยาว ใช้คำ รื่นหูกว่า
แต่ เวชศึกษา ชื่อ สั้น ใช้คำ ว่า ( อุตุ )
ให้ดู ฤดูสมุฎฐาน ให้ดี เพราะ ถ้าใช้ คำว่า ฤดู คือ คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย
* เมื่อเขา ถามถึง ที่ตั้งที่ แรกเกิด ของโรค จะต้องเป็น ธาตุ อุตุ อายุ กาล ( เวชศึกษา )
*เมื่อไหร่ ที่เขา ถามหา ถึง กองพิกัดสมุฎฐาน 4 ประการ จะต้องเป็น ธาตุ อายุ ฤดู กาล ( สมุฎฐานวินิจฉัย )
(((( 1. ธาตุสมุฎฐาน ))))
ดิน / น้ำ / ลม / ไฟ
ดิน มี 20 = วีสติปถวี
น้ำ มี 12 = ทวาทศอาโป
ลม มี 6 = ฉกาลวาโย
ไฟ มี 4 = จตุกาลเตโช
อันนี้ คือ ตามคัมภีร์ เวชศึกษา กล่าวถึง
แต่ คัมภีร์ สมุฎฐานวินิจฉัย พูดถึง กองสมุฎฐานธาตุ ที่ เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดโรค ฉะนั้น เรื่องของ ธาตุสมุฎฐาน เค้าจะไม่พูดถึงตรงนี้แล้ว แต่จะไปพูด ถึง *** ( สาเหตุ )
ธาตุสมุฎฐาน ที่อยู่ใน กองสมุฎฐาน และ เป็น มหาพิกัดสมุฎฐาน ซึ่ง มี
1. สมุฎฐาน ปัถวีธาตุพิกัด
2. สมุฎฐาน อาโปธาตุพิกัด
3. สมุฎฐาน วาโยธาตุพิกัด
4. สมุฎฐาน เตโชธาตุพิกัด
ซึ่ง ทั้ง 4 ตัวนี้ จะเป็น ที่ตั้งแห่ง ตัวที่เราเรียน ไปใน เวชศึกษาแล้ว เป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิด วีสติปัถวีธาตุ / เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิด ทวาทศอาโปธาตุ / เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิด ฉกาลวาโยธาตุ / เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิด จตุกาลเตโชธาตุ
ซึ่ง สมุฎฐานธาตุพิกัด จะมี อยู่ 3 ตัว ด้วยกัน ต้องเรียง ตาม ลำดับ ตามนี้ คือ
1. สมุฎฐานปถวีธาตุพิกัด ที่ เป็นที่ตั้ง วีสติปัถวี หรือ ที่เป็น สาเหตุ ให้เกิด การพิการ ต่างๆ ของ ธาตุดิน ทั้ง 20
มี 1.1 หทัยวัตถุ ( ก้อนเนื้อหัวใจ ) / 1.2 อุทริยะ ( อาหารใหม่ อาหารที่เราเพิ่งกินเข้าไปให้เกิดพลังงาน ) 1.3 กรีสัง ( อาหารเก่า ที่กินเข้าไปแล้ว ย่อยแล้ว ไม่ใช่อาหาร บูดเน่า )
2. สมุฎฐาน อาโปธาตุพิกัด จะมี
2.1 ศอเสมหะ ( เสมหะ ในลำคอ ) / 2.2 อุระเสมหะ ( เสมหะ ที่อยู่ใน ปลายประเพาะ แต่ในความเข้าใจแล้ว อุระเสมหะ คือ เสมหะในอก ) / 2.3 คูถเสมหะ ( เสมหะที่อยู่ใน ทวารหนัก แต่จริงๆ ตามความเข้าใจ คือ เสมหะ ที่เกี่ยวกับ คูถ ทั้งหมด คือ เสมหะ ที่ คอยหล่อลื่น อุจจาระ )
3. สมุฎฐาน วาโยธาตุพิกัด
3.1 หทัยวาตะ ( ลมหัวใจ ลมที่ทำให้เกิด การเต้นของหัวใจ ) / 3.2 สัตถกะวาตะ ( ลมเสียดแทง ) / 3.3 สมุนาวาตะ ( ลมในเส้น )
4. สมุฎฐาน เตโชธาตุพิกัด
4.1 พัทธะปิตตะ ( ดี ในฝัก ) 4.2 อพัทธะปิตตะ ( ดี นอกฝัก ) 4.3 กำเดา ( เปลวความร้อน )
ทั้งหมดนี้ เป็นที่ ตั้งของ ธาตุ ที่แตก ออกไป อีก
* ( เวลาการท่อง ควรท่อง เรียงตามลำดับ เพราะ เราต้อง นำไป เขียน จักราศี ต่อไป )
ธาต ทั้งหมด กลายเป็น * ( สมุฎฐาน ธาตุพิกัด ) การที่ มันจะ เกิดโรค ได้นั้น แบ่งออกเป็น ขั้น คือ
1. ชาติ = เกิดโรค ( สาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรค ซึ่ง สมุฎฐาน ธาตุพิกัด นั่นเอง ที่เป็น สาเหตุ ที่ทำให้เกิด โรค ได้ด้วย )
2. จลนะ = การดำเนินโรค
3. ภินนะ = เกิดความพิการ ( ความพิการ ที่ทำให้เราเห็น ไม่ได้หมายถึง แขน ขา ขาด แต่คือ การเกิดโรค นั่นคือ ความพิการแล้ว )
(((( 2. อายุสมุฎฐาน ))))
อายุสมุฎฐาน ค่อนข้างจะใช้ แนวคิดเดิม คือ เหมือนกับ เวชศึกษา คือ เด็ก เกิด มาคนหนึ่ง ดำเนินไปตาม อายุ ตามขั้น ตอน แต่จะต่างกับ เวชศึกษา ตรงที่ คัมภีร์ สมุฎฐานวินิจฉัย นั้น จะแบ่ง ช่วง
( พาลทารก เป็น 2 ช่วง คือ 0 - 8 / 8 - 16 ) แต่ถ้า เป็น * สมุฎฐานวินิจฉัย จะ เป็น 0 - 16 ปี เลย
*** สมุฎฐานวินิจฉัย จะแบ่ง ช่วง พาลทารก เป็น ช่วงเดียวคือ 0 - 16 แต่ ของ เวชศึกษา จะแบ่ง ช่วง พาลทารก เป็น 2 ่ช่วง คือ ช่วง 0 - 8 และ ช่วง 8 - 16 ปี ***
ซึ่ง ตามคัมภีร์ สมุฎฐานวินิจฉัย จะแบ่งเป็น 0 - 16 ปี เป็น ช่วง ปฐมวัย ก็จะเป็น หวัด มีเสมหะ ก็จัดอยู่ใน สมุฎฐาน เสมหะ มีกำลัง ( 12 องศา )
พาลปานกลาง = วัยกลางคน
ส่วนใหญ่จะเป็นโรค เกี่ยวกับ ปวดศรีษะ เป็นไข้ ตัวร้อน หวัดจะ มาทีหลัง ความร้อนกระทำ จึงเป็น สมุฎฐาน ปิตตะ ในช่วง 16 - 30
พาลผู้เฒ่า 30 - สิ้นอายุขัย ตรงนี้ จัดเป็น ปัจฉิมวัย สมุฎฐานวาตะ เพราะคน ในช่วงนี้ จะเป็น ลม กันบ่อย
*** จุด ที่แตกต่างจาก คัมภีร์เวชศึกษา ***
1. ในช่วงพาลปานกลาง ของเวชศึกษา จะกำหนด เป็น 16 - 32
2. พาลผู้เฒ่า ของ เวชศึกษา จะเป็น 32 - 64
3. พาลทารก ของเวชศึกษา จะแบ่ง เป็น 2 ช่วง คือ 0 - 8 กับ 8 - 16
(((( 3. ฤดูสมุฎฐาน ))))
จะพูดถึง ฤดู 3 และ ฤดู 6 เท่านั้น ไม่ได้พูดถึง ฤดู 4
ฤดู 3 มี
1. คิมหันต์ฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 4 - ขึ้ 15 ค่ำ เดือน 8 ) สมุฎฐาน ปิตตะ
2. วสันต์ฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) สมุฎฐาน วาตะ
3. เหมันต์ฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 12 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ) สมุฎฐาน เสมหะ
ในประเทศไทย หมอ จะเอา ฤดู 3 มาใช้ ในการ วินิจฉัยโรค เสียมากกว่า ฤดู 6 จะไม่ค่อย เอามาดู ซักเท่าไหร่ *** (เนื่องจาก ฤดู 6 เป็น ตามประเทศ อินเดีย ที่เค้า มี ฤดู มากกว่าเรา แต่เรา จะเอา ฤดู 6 มาดู ด้วยก็ได้ เพราะมัน ละเอียด กว่า ) ***
ฤดู 3 จะซ้อนทับ อยู่กับ ฤดู 6
ฤดู 6 จะแบ่ง เป็น ฤดู ละ 2 เดือน
1. คิมหันตฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 4 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ) ปิตตะ เจ้าเรือน เสมหะ มา ระคน
2. วสันต์ฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 6 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ) ปิตตะ เจ้าเรือน วาตะ มา ระคน
3. วัสสานฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ) วาตะ เจ้าเรือน ปิตตะ มา ระคน
4. สะระทะฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 10 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) วาตะ เจ้าเรือน เสมหะ มา ระคน
5. เหมันต์ฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 12 - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ) เสมหะ เจ้าเรือน วาตะ มาระคน
6. ศิศิรฤดู
( แรม 1 ค่ำ เดือน 2 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ) เสมหะ เจ้าเรือน ปิตตะ มา ระคน
แปลว่า ฤดู 6 ในช่วง ฤดู ที่ 1 และ 2 จะมี ปิตตะ มาเป็นเจ้าเรือน แล้วมี เสมหะ และ วาตะ มา * ( ระคน )
( ระคน = ฤดู ที่ ผ่านมาแล้ว และ ฤดู ที่ กำลัง จะเข้าไปถึง ส่งผล อยู่ หรือ ส่งผล เข้ามา กระทำ กับ ตัว พิกัด ฤดู )
การท่อง ชื่อ ฤดู 6 ( คิม วะ วัส สาร เห ศิ )
(((( 4. กาลสมุฎฐาน ))))
ความต่าง ของกาลสมุฎฐาน ถ้าเป็น เวชศึกษา จะแบ่ง ออกเป็น 4 ช่วง เป็น ยาม 1 2 3 4 แต่ ถ้าเป็น สมุฎฐานวินิจฉัย แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ
1. ช่วงเวลา สมุฎฐาน
กลางวัน ( 6 โมงเช้า ถึง 10 โมงเช้า ) และ กลางคืน ( กลางคืน จะเป็น 6 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม )
เรียกว่า ช่วง บริโภคอาหารแล้ว
2. ช่วง เวลา สมุฎฐาน ปิตตะ
กลางวัน ( 10 โมงเช้า ถึง บ่าย 2 )
กลางคืน ( 5 ทุ่ม ถึง ตี 2 )
เรียกว่า ช่วง อาหารยังไม่ย่อย
3. ช่วงเวลา สมุฎฐาน วาตะ
กลางวัน ( บ่าย 2 ถึง 6 โมงเย็น )
กลางคืน ( ตี 3 ถึง 6 โมงเช้า )
เรียกว่า ช่วง อาหาร ย่อยแล้ว
เสมหะ ปิตตะ และ วาตะ กำเริบ ในกาล ดังนี้
กำเริบ กาล
เสมหะ เช้า/พลบค่ำ บริโภคอาหารแล้ว
ปิตตะ เที่ยง/เที่ยงคืน อาหารยังไม่ย่อย
วาตะ บ่าย/นอนหลับ อาหารย่อยแล้ว
((( สันนิบาต ))) = 30
ปิตตะสมุฎฐาน อาพาธา พิกัด 7 ( ดี )
เสมหะสมุฎฐาน อาพาธา พิกัด 12 ( เสลด )
วาตะสมุฎฐาน อาพาธา พิกัด 10 ( ลม )
* การดำเนิน ของ โรค = 30 = สันนิบาต
การดำเนิน ของ โรค จะเริ่ม จากปิตตะ ก่อน แล้ว ต่อด้วย เสมหะ และ วาตะ
ปิตตะ วันที่ 1 - 7 เกี่ยวเนื่อง กับ ดี
เสมหะ วันที่ 8 - 19 เกี่ยวเนื่องกับ เสลด
วาตะ วันที่ 20 -29 เกี่ยวเนื่อง ลม
เลยวันที่ 29 ยังไม่หาย ก็เข้า สันนิบาต ทันที จะกระทำ ให้ ธาตุดิน พิการ
สันนิบาต ที่ว่า นี้ ก็จะมี โทษ ประการ คือ
1. กาลเอกโทษ
2. กาลทุวันโทษ
3. กาลตรีโทษ
( 1.กาลเอกโทษ )
ให้ดู ตาม นาฬิกา ที่เป็น เข็ม
กาลเอกโทษ มี เสมหะ ปิตตะ วาตะ
ให้ดู ตาม กาลสมุฎฐาน
ช่วงเวลา ตามกาลสมุฎฐาน ช่วงเวลา แรก คือ เสมหะ / ช่วง เวลาที่ สอง คือ ปิตตะ / ช่วงเวลาที่ สาม คือ วาตะ
*เสมหะ จะกำเริบ ตั้งแต่ 7 โมง ถึง 10 โมง เช้า เราจะ เอามาแบ่ง เป็น รายชั่วโมง เป็น
( 6:00 - 7:00 เสมหะ 2 ส่วน วาตะ 1 ส่วน )
( 7:00 - 8:00 เสมหะ 3 ส่วน ไม่มีอะไร ระคน )
( 8:00 - 9:00 เสมหะ 3 ส่วน ไม่มีอะไร ระคน )
( 9:00 - 10:00 เสมหะ 2 ส่วน ปิตตะ 1 ส่วน )
* ช่วงเวลา 10:00 ของ เสมหะ จะ ไป ตรง กับ 1:00 ของ ช่วง ปิตตะ ก็เลย จะมีการ เจือ ปิตตะ มา 1 ส่วน
* ปิตตะ จะกำเริบ ตั้งแต่ 10 โมง ถึง บ่าย 2
( 10:00 - 11:00 ปิตตะ 2 ส่วน เสมหะ มา ระคน 1 ส่วน )
( 11:00 - 12:00 ปิตตะ 3 ส่วน ไม่มี อะไรมาระคน )
( 12:00 - 13:00 ) ปิตตะ 3 ส่วน ไม่มี อะไรมา ระคน )
( 13:00 - 14:00 ) ปิตตะ 2 ส่วน วาตะ 1 ส่วน มา ระคน )
* วาตะ จะกำเริบ ตั้งแต่ บ่าย 2 ไปจนถึง 6 โมงเย็น
( 14:00 - 15:00 วาตะ 2 ส่วน ปิตตะ 1 ส่วน มาระคน )
( 15:00 - 16:00 วาตะ 3 ส่วน ไม่มี อะไรมา ระคน )
( 16:00 - 17:00 วาตะ 3 ส่วน ไม่มี อะไรมา ระคน )
( 17:00 - 18:00 วาตะ 2 ส่วน เสมหะ 1 ส่วน มา ระคน )
* เวลา จะเรียง ตามเข็ม นาฬิกา
( 2. กาลทุวันโทษ )
เสมหะ
( 6:00 - 7:00 เสมหะ 1 ส่วน วาตะ 2 ส่วน )
( 7:00 - 8:00 เสมหะ 2 ส่วน วาตะ 1 ส่วน )
( 8:00 - 9:00 เสมหะ 2 ส่วน ปิตตะ 1 ส่วน )
( 9:00 - 10:00 เสมหะ 1 ส่วน ปิตตะ 2 ส่วน )
ปิตตะ
( 10:00 - 11:00 ปิตตะ 1 ส่วน เสมหะ 2 ส่วน )
( 11:00 - 12:00 ปิตตะ 2 ส่วน เสมหะ 1 ส่วน )
( 12:00 - 13:00 ปิตตะ 2 ส่วน วาตะ 1 ส่วน )
( 13:00 - 14:00 ปิตตะ 1 ส่วน วาตะ 2 ส่วน )
วาตะ
( 14:00 - 15:00 วาตะ 1 ส่วน ปิตตะ 2 ส่วน )
( 15:00 - 16:00 วาตะ 2 ส่วน ปิตตะ 1 ส่วน )
( 16:00 - 17:00 วาตะ 2 ส่วน เสมหะ 1 ส่วน )
( 17:00 - 18:00 วาตะ 1 ส่วน เสมหะ 2 ส่วน )
( 3. กาลตรีโทษ )
เสมหะ
( 6:00 - 7:00 เสมหะ 1 วาตะ 4 ปิตตะ 1 )
( 7:00 - 8:00 เสมหะ 2 วาตะ 3 ปิตตะ 2 )
( 8:00 - 9:00 เสมหะ 2 วาตะ 2 ปิตตะ 3 )
( 9:00 - 10:00 เสมหะ 1 วาตะ 1 ปิตตะ 4)
ปิตตะ
( 10:00 - 11:00 ปิตตะ 1 เสมหะ 4 วาตะ 1 )
( 11:00 - 12:00 ปิตตะ 2 เสมหะ 3 วาตะ 2 )
( 12:00 - 13:00 ปิตตะ 2 เสมหะ 2 วาตะ 3 )
( 13:00 - 14:00 ปิตตะ 1 ส่วน เสมหะ 1 วาตะ 4)
วาตะ
( 14:00 - 15:00 วาตะ 1 ปิตตะ 4 เสมหะ 1 )
( 15:00 - 16:00 วาตะ 2 ปิตตะ 3 เสมหะ 2 )
( 16:00 - 17:00 วาตะ 2 ปิตตะ 2 เสมหะ 3)
( 17:00 - 18:00 วาตะ 1 ปิตตะ 1 เสมหะ 4 )
( ธาตุ 4 กำเริบ )
หรือ สุริยะคติ ที่เกิด ใน ห้วง ของ จักราศี จะดู แบบ * ( ทวนเข็มนาฬิกา ) ทำให้รู้ว่า อะไร กำเริบ และ อะไร มา ระคน ในเดือน นั้น ๆ เอาไว้ ดู ธาตุ กำเนิด หรือ ดูว่า ช่วงเวลา นั้น จะเป็นโรค อะไร บ้าง
การเขียน จักราศี
1. เขียน แพทเทิล ของ ตารางจักราศี
2. เขียน ข้างขึ้น และ ข้างแรม ใน ทุก ก้าน ของ ตาราง
3.เขียน ไล่ พิกัด เตโช > ปถวี > วาโย > อาโป
เรียง แบบนี้ ทวนเข็ม นาฬิกา
เต่า = เตโชธาตุพิกัด
ปีน = ปถวีธาตุพิกัด
วัด = วาโยธาตุพิกัด
น้ำ = อาโปธาตุพิกัด
ให้ท่อง ว่า ( เต่า ปีน วัด ตกน้ำ )
4. เขียน ราศี เริ่มต้น เรียง จาก เมษา ที่ เดือน 4
5. เขียนสมุฎฐาน พิกัด ที่เป็น มหาพิกัด สมุฎฐาน ที่ แต่ กอง มี 3 ตัว ( เรียง ไป ตาม ตำแหน่ง ทวน เข็ม นาฬิกา ที่เป็น เตโชธาตุ พิกัด )
6. ให้รู้ ไว้ว่า สี่ เดือนแรก นับจาก เดือน 5 - 8 เต่า ปีน วัด ตกน้ำ ชุดแรก ที่ทวนเข็ม นาฬิกกา จะ เป็น ( กำเริบ ) / นับจาก เดือน
เดือน 8 -12 หรือ เต่า ปีน วัด ตกน้ำ ชุดที่ สอง จะเป็น ( หย่อน ) / เดือน 12 - 4
เต่า ปีน วัด ตกน้ำ ชุด ที่ สาม เป็น ( พิการ )
ต้อง ไปหัด วาด ตาราง จักราศี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น